การประชุมระดับสูงอียู-เอเชีย เรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ

03.10.2021

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – ในระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคมนี้ จะมีการจัดการประชุมนานาชาติระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ หรือ AMR เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญในยุโรปและเอเชียและผู้กำหนดนโยบายเพื่อจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่เร่งด่วนที่สุดในศตวรรษนี้

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 3 ตุลาคม .. 2564ในระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคมนี้ จะมีการจัดการประชุมนานาชาติระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ หรือ AMR เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญในยุโรปและเอเชียและผู้กำหนดนโยบายเพื่อจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่เร่งด่วนที่สุดในศตวรรษนี้

ในวันที่ 18-20 ตุลาคม ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ หรือ AMR จากยุโรป ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียจะเข้าร่วมในการประชุมระดับนานาชาติระดับสูงครั้งแรกในประเทศไทยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (อียู)

งานประชุมนานาชาติออนไลน์ในครั้งนี้จะเป็นเวทีสำคัญสำหรับแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ และประสบการณ์  ต่างๆ ของนานาประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในการจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพหรือ AMR ต่อไป 
ปัจจุบัน สถานการณ์ AMR ก่อให้เกิดความกังวลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นภัยคุกคามต่อการป้องกันและการรักษาที่มีประสิทธิภาพของการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย ปรสิต ไวรัส และเชื้อราที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาทั่วไปอีกต่อไป เชื่อว่าในขณะนี้ AMR ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 700,000 คนต่อปีทั่วโลก และมีประมาณการว่าความล้มเหลวในการจัดการ AMR ​​อาจทำให้ภายในปี 2593 จะมีผู้เสียชีวิตถึง 10 ล้านคนต่อปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ผลกระทบสูงสุดยังมีแนวโน้มที่จะพบในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งมากถึง 4.7 และ 4.2 ล้านคนตามลำดับ  ในประเทศไทย จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า AMR ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 38,000 คนต่อปี และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท จากการแพร่กระจายของการดื้อยาในระดับสูงในวงกว้าง ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการดื้อยาต้านจุลชีพ .. 2560-2564 เพื่อจัดการกับการระบาดใหญ่ของ AMR ที่เกิดขึ้นใหม่นี้